วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์

วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดมโนรมย์ ตั้งอยู่บนเขามโนรมย์ บ้านเขามโนรมย์ หมู่ที่ ๙ ตำบลนาสีนวน อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีเนื้อที่ ๖๖ ไร่ ๓ งาน ๓๓ ตารางวา ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เพิกถอนพื้นที่วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ออกจากเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบแล้ว ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖๙ ก ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ตามโฉนดที่ดิน(น.ส. ๔ จ.) เลขที่ ๖๒๔๕๑

อาณาเขต        ทิศเหนือ                              จดอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

                    ทิศใต้                                  จดอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

                    ทิศตะวันออก                         จดอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

                    ทิศตะวันตก                          จดอุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
จากหลักฐานการสร้างจากแผ่นศิลา ได้กล่าวว่า พระอาจารย์บุ นนฺทวโร เจ้าอาวาสวัดมโนภิรมย์ บ้านชะโนด และผู้สร้างวัดลัฏฐิกวัน พร้อมด้วยคนของท่านขุนศาลา ได้สร้าง
๑. พระธาตุภูมโนรมย์ เป็นพระธาตุทรงแปดเหลี่ยม มีเอวเป็นฐานหักเชิงเป็นรูปแปดเหลี่ยม รัศมีประมาณ ๒.๕ เมตร เป็นรูปทรงปรีแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็นลักษณะปริศนาธรรมตามความหมายแรกเป็นนรกภูมิ ส่วนที่ ๒ เป็นโลกภูมิ ส่วนที่ ๓ เป็นสวรรค์ภูมิ ความสูง ๔.๕ เมตร

๒. พระอังคารเพ็ญ เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างพร้อมรอยพระพุทธบาท เพื่อให้ครบ คือ พระธาตุ พระพุทธรูป และรอยพระบาท ตามความเชื่อของผู้สร้าง

๓. แผ่นศิลาจารึกบันทึกประวัติการก่อสร้าง จำนวน ๑ แผ่น ติดอยู่หลังของพระอังคารเพ็ญ

๔. รอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดเล็ก ซึ่งสร้างขึ้นจากหินทราย มีความกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ความยาว ๑.๘ เมตร สร้างเป็นลักษณะลอยตัวสูงขึ้นจากพื้นประมาณ ๙๐ เซนติเมตร

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๕ เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหารเห็นว่าวัดดังกล่าวเป็นวัดร้าง จึงได้มอบหมายให้พระครูอุดมธรรมรักษ์ (ยอด ยสชาโต) เจ้าคณะอำเภอเมืองมุกดาหาร ซึ่งปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชมุกดาหารคณี ได้ขึ้นมาบูรณะบำรุงรักษาและป้องกันการทำลายโบราณสถานดังกล่าว และยังได้มีการสร้างพระพุทธสิงห์สองจำลองประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพสักการะอีกองค์หนึ่ง

ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ทางคณะสงฆ์และจังหวัดมุกดาหารได้ร่วมใจกันจัดสร้างพระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติฯ ในชื่อ""พระเจ้าใหญ่แก้วมุกดาศรีไตรรัตน์"" เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๓๙.๙๙ เมตร สูง ๕๙.๙๙ เมตร ความสูงจากฐานถึงยอดเศียร ๘๔ เมตร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลและเงินบริจาคจากพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปกว่า ๑๐๐ ล้านบาท

ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ พระมหามงคล มงฺคลคุโณ เจ้าอาวาสวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ได้ดำเนินการก่อสร้างพญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๐ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๑ พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช เป็นรูปปั้นองค์พญานาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยรูปปั้นองค์พญานาคนี้ตั้งตระหง่านอย่างยิ่งใหญ่อยู่บนเขาภูมโนรมย์ภายในวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ องค์พญานาคมีสีฟ้าอมเขียว หันพระเศียรมองลงไปยังแม่น้ำโขงเบื้องล่าง ที่นี่เป็นแลนด์มาร์กที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาต่อพญานาคที่ผู้คนแถบลุ่มแม่น้ำโขงเชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาเมืองริมโขง ให้ร่มเย็นเป็นสุข พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราชเป็นรูปปั้นองค์พญานาคองค์ใหญ่ที่น่าเกรงขามงดงาม มีความยาว ๑๒๒ เมตร สูง ๒๐ เมตร ซึ่งเป็นรูปปั้นองค์ลำตัวมีสีฟ้าอมเขียว และสลักลวดลายเกล็ดอย่างวิจิตรงดงาม บริเวณท้องพญานาคขดตัวเป็นช่องคล้ายซุ้มประตูโค้ง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเจ็ดซุ้ม ผู้ที่ศรัทธาพญานาค นิยมมาสักการะขอพร และเดินลอดท้องพญานาคเพื่อความเป็นสิริมงคล องค์พญานาคพญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราชเปรียบเสมือนพญานาคฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสามองค์พญานาค (พญานาค ๓ พิภพ) ที่มีความสำคัญของจังหวัดมุกดาหาร ที่สร้างขึ้นตามความเชื่อของผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งพญานาค ๓ พิภพ ได้แก่ พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช (พญานาคดิน) ที่แก่งกะเบา พ่อปู่พญาอนันตนคราช (พญานาคน้ำ) สะพานมิตรภาพแห่งที่ ๒ และพญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช (พญานาคฟ้า) ที่วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์แห่งนี้

ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ พระมหามงคล มงฺคลคุโณ เจ้าอาวาสวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดมุกดาหาร ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. ไปประดิษฐานที่แท่นฐานชุกชีของพระพุทธรูป และขอพระราชทานชื่อพระพุทธรูปดังกล่าว ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ขอพระมหากรุณา และพระราชทานชื่อพระพุทธรูปดังกล่าวว่า”พระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร” มีความหมายว่า พระพุทธรูปอันเป็นมิ่งมงคลของเมืองมุกดาหาร

วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์และเป็นศาสนสถานที่พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นมงคล และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจอีกแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยือน ทั้งมีการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อเป็นจุดชมทิวทัศน์ของเมืองคู่แฝด คือ เมืองมุกดาหาร ประเทศไทย และแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงหอแก้ว แม่น้ำโขง และสะพานมิตรภาพแห่งที่ ๒" 

วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ ยกฐานะจากวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุจำพรรษาเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ รวมอายุถึงปัจจุบัน ๑๐๔ ปี (ข้อมูล ณ ๒/พ.ย./๒๕๖๕)

การศึกษา

- มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖

- มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖

การบริหารและการปกครอง

ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

รูปที่ ๑     พระอธิการบุญเหลือ    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘         ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒

รูปที่ ๒     พระปลัดปราณี ปราสฺสโร        ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๒         ถึง พ.ศ. ๒๕๕๖

รูปที่ ๓     พระมหามงคล มงฺคลฺคุโณ        ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๖         ถึง ปัจจุบัน

อาคารเสนาสนะ ปูชนียวัตถุสำคัญ - พระพุทธรูปเฉลิมพระเกียรติฯ หน้าตักกว้าง ๔๐ เมตร สูง ๘๔ เมตร

                                          - พระธาตุภูมโนรมย์ รัศมี ๒.๕ เมตร ความสูง ๔.๕ เมตร

                                          - รอยพระพุทธบาทจำลอง ความกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ความยาว ๑.๘ เมตร สูง ๙๐ เซนติเมตร

                                          - พระพุทธรูปพระอังคารเพ็ญ

                                          - พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช ยาว 122 เมตร สูง 20 เมตร


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

ไฟล์เอกสารประกอบ
xlsx ประวัติวัดและเจ้าอาวาส |

image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 612,087