วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญชายโขง ในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธสิงห์สอง

ประวัติวัดศรีบุญเรือง อุโบสถวัดศรีบุญเรือง เริ่มสร้าง พ.ศ. 2500 สร้างเสร็จ พ.ศ. 2509 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2513 ขณะนั้นมีพระวิธูรธรรมาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสวัด แต่เดิมมีเนื้อที่ตั้งวัดจำนวน 5 ไร่ 1 งาน 76 ตารางวา เมื่อปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ดำเนินการตัดถนนสำราญชายโขงผ่านที่ดินของวัดศรีบุญเรือง แบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง คือแปลงที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขงในขณะนี้ เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด และแปลงที่สองอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนสำราญชายโขง เป็นที่ตั้งวัดศรีบุญเรืองในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2526 มีประชาชนคุ้มศรีบุญเรือง และพ่อค้าในตลาดมุกดาหาร รวมศรัทธาบริจาคปัจจัยชื้อที่ดินธรณีของสงฆ์เพื่อขยายวัดให้กว้างขวางขึ้นอีก จำนวน 2 งาน 92.4 ตารางวา และมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคอีก 1 แปลง คือที่ดินอยู่ใกล้ถนนสายมุกดาหารไปดอนตาล อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลาง จ.มุกดาหาร ประมาณ 1.5 กม. สะดวกต่อการไปมาของพุทธศาสนิกชน ปัจจุบันวัดศรีบุญเรืองอยู่ในระหว่างพัฒนา การสร้างและการบูรณะวัดจากหลักฐานของคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมาและเอกสารพอเชื่อถือได้ กล่าวไว้ว่าวัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร (ประมาณ พ.ศ. 2310-2317) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่จำวัด วัดแห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด เมื่อประมาณ พ.ศ. 2318 พระยาจันทร์ศรีอุปราชา (เจ้ากินรี) ซึ่งเป็นผู้สร้างวัด และเป็นเจ้าเมืองคนแรกของเมืองมุกดาหาร จึงได้ชักชวนเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด ให้เหมาะสมที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ และได้ร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นทางด้านหน้าของวัด เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดศรีบุญเรือง ในสมัยที่เจ้ากินรีได้เข้ามาบูรณะและสร้างวัดหัวเมืองแล้ว (วัดศรีมงคลใต้) ก็ควรสร้างวัดท้ายเมือง (วัดศรีบุญเรือง) ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชาได้โดยทั่วถึง เป็นที่น่าสังเกตว่าอุโบสถที่เจ้ากินรีได้สร้างขึ้นนั้นหันหน้าไปทางทิศเหนือ (อุโบสถส่วนใหม่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก) ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านอยากจะสร้างอุโบสถแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับตัวท่านเอง เพราะเจ้ากินรีเป็นชาวเหนือเชื้อเจ้า ท่านได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความจำเป็น จึงได้สร้างอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จ ก็ได้ให้ชาวบ้านศรีบุญเรืองจัดขบวนดอกไม้ธูปเทียน ไปอัญเชิญพระพุทธสิงห์สองจากวัดศรีมงคลใต้ มาประดิษฐานไว้ เป็นพระประธานในอุโบสถหลังนี้ เนื่องจากว่าพระองค์พระพุทธรูปสิงห์สองนี้ เป็นพระพุทธธูปเมืองเหนือ ตัวท่านเองก็เป็นคนชาวเหนือ ได้อพยพลงมาในดินแดนทีอุดมสมบูรณ์ และท่านมีความเคารพพระพุทธรูปองค์นี้มากจึงได้นำมาประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ในอุโบสถที่ท่านได้สร้างขึ้นมา ฝาผนังอุโบสถเป็นภาพวาด สีสันงดงามมาก ด้านในเป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ด้านนอกเป็นภาพนรก สวรรค์ ซึ่งศิลปกรรมเหล่านี้ถือเป็นประณีตศิลป์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า อุโบสถดังกล่าวได้พังเสียหายจากความเก่าแก่ ปัจจุบันเราจึงไม่ได้เห็นภาพอันวิจิตรงดงามนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทุกวันนี้คือ ซากปรักหักพังและฐานอุโบสถเท่านั้น พระพุทธสิงห์สอง เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ปัจจุบันทางวัดได้ถือเอาหลวงพ่อพุทธสิงห์ เป็นพระประธานและเป็นสัญลักษณ์ของวัดตลอดมา ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีบุญเรือง และชาวมุกดาหาร ได้ยึดเอาหลาวพ่อพุทธสิงห์สองเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจมาโดยตลอด ในงานสงกรานต์ของอำเภอเมืองมุกดาหาร ชาวอำเภอเมืองมุกดาหารได้กระทำพิธีอัญ เชิญ พระพุทธสิงห์สองจากพระอุโบสถวัดศรีบุญเรืองแห่รอบเมือง แล้วนำไปประดิษฐานบนแท่นที่จัดไว้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปี

  • เครื่องอำนวยความสะดวก


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

image
image
image
image
 
 
 
 

Website Policy | Privacy Policy | Security Policy | Disclaimer | ข้อกำหนดการใช้ Cookies รองรับการทำงานบน Internet Explorer v.11+, Microsoft Edge, Firefox v.47.0+, Chrome v.51+

จำนวนการเข้าชม : 613,943